วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ถอดคำประพันธ์ อิเหนา

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
  ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน
ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะออกอาสาไม่ย่อท้อ ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิตจะสู้จนกว่ากำลังวังชาจะสูญสิ้นไป
เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงได้ยินเจ้าเมืองผู้เป็นน้องทั้งสองตรัสมาดังนั้น ดีใจเป็นอย่างยิ่ง พระองค์รับสั่งกับอนุชาทั้งสองให้พาทัพทหารไปพักให้สำราญ แล้วให้อนุชาทั้งสองเข้ามาอยู่ในพระราชวัง และท้าวกะหมังกุหนิงก็ได้ลงองค์ลงมานั่งข้างๆกับเจ้าเมืองทั้งสอง พร้อมกับเล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังแล้วได้มอบสารให้เสนานำไปถวาย
เมื่ออนุชาทั้งสองได้ฟังถึงเรื่องราวทั้งหมดจึงได้คัดค้านไปว่าเมืองที่จะไปตีนั้น มีความเก่งกาจและชำนาญเรื่องการรบ อีกทั้งทางทหารในเมืองนั้นก็เก่งในเรื่องการรบ เลื่องลือในแคว้นชวาและต่างเกรงกลัวในฤทธิ์เดชเมืองเขาเป็นเมืองใหญ่เมือง เราเป็นเมืองน้อยเปรียบเหมือนหิ่งห้อยจะเปล่งแสงแข่งกับด อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔ ประสูติในบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร

          การศึกษาของพระองค์ในขั้นต้น ได้ทรงศึกษาภาษาไทยตามแบบเก่ากับคุณแสงเสมียนและคุณปาน ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ  ในพระบรมมหาราชวัง  ภาษาบาลีในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย) ภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง นายฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์

          พระองค์ได้รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าโปรดให้ทรงจัดการกรมแผนที่เพื่อฝึกให้คนไทยทำแผนที่ พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างเรียบร้อย ภายหลังโปรดให้บังคับบัญชากรมกองแก้วจินดา พระองค์ก็ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรงได้รับพระราชทานสุพรรณบัตร สถาปนากรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อ่านเพิ่มเติม

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้แตกฉาน ทั้ง ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามคธ มีความรอบรู้ในฉันทลักษณ์ มีความสามารถด้านการประพันธ์บทร้อยกรองต่าง ๆ
ดังนั้น ท่านจึงมีงานสนองพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการประพันธ์ งานแต่งหนังสือเรียน รวมทั้งงานประจำในหน้าที่ของกรมพระอาลักษณ์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน ภาระหน้าที่ของท่านจึงมีมาก ที่รวบรวมได้ มีดังนี้
๑. งานในตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์อันเป็นหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือและหนังสือราชการ ทั้งปวง
๒. ดูแลงานกิจการโรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวังเป็นอีกภาระหนึ่งมาตั้งแต่ปี ๒๔๑๒
๓. งานในหน้าที่ครูสอนหนังสือไทยที่กรมทหารมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ และงานในตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง
๔. งานในหน้าที่เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการในโรงเรียนหลวง  อ่านเพิ่มเติม


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระราชประวัติ

 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อขึ้นครองราชย์ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์ อ่านเพิ่มเติม

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่บังคับเอกโท และคำสุภาพไว้สี่จุด (ดังแสดงในผัง) ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงปัจจุบัน
                      โคลงที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยรสคำและรสความ ดังที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงอธิบายไว้ว่า

                     โคลงดีดีด้วยรจ........นานัย ไฉนนอ
                 ต้องจิตติดหฤทัย...........เทิดถ้วน
                 ไพเราะรสคำไพ............เราะรส ความเฮย
                 สองรสพจนล้วน............ทิพย์ล้ำจำรูญ ฯ

     หลาย ๆ คนล้วนคุ้นเคยและเขียนโคลงสี่สุภาพได้แล้ว ว่าแล้วเรามาลองมาทบทวนกันดีกว่า

ร่ายสุภาพ

ร่ายสุภาพ
              ร่าย เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึงที่มีบังคับสัมผัสและการลงท้าย

              ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป แต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕ คำ แต่ไม่กำหนดว่าจะต้องมี   กี่บทหรือกี่บาท จะแต่งให้ยาวเท่าไรก็ได้จนกว่าจะจบเนื้อความ สัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป

ร่ายสุภาพ มีข้อกำหนดที่สำคัญ 2 ประการ คือ

๑. คำสุภาพ (คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์) ถ้าคำสัมผัสเป็นคำสุภาพก็ต้องส่งสัมผัสกับคำสุภาพด้วยกัน แต่ถ้าคำสัมผัสเป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์ก็ต้องส่งสัมผัสกับวรรณยุกต์เดียวกันเท่านั้น

๒. ร่ายสุภาพ จะต้องจบด้วย โคลงสองสุภาพ เสมอ


นิราศนรินทร์คำโคลง

    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย

เรื่องย่อนิทานเวตาล

เรื่องย่อนิทานเวตาล
          ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์

          ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสนนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี อ่านเพิ่มเติม

ถอดคำประพันธ์นมัสการมาตาปิตุคุณ

                                   ถอดคำประพันธ์นมัสการมาตาปิตุคุณ

                                   ข้าขานบชนกคุณ           ชนนีเป็นเค้ามูล
                               ผู้กอบนุกูลพูน                   ผดุงจวบเจริญวัย
                                   ฟูมฟักทะนุถนอม           บ บำราศนิราไกล
                               แสนยากเท่าไรๆ                บ คิดยากลำบากกาย
                                   ตรากทนระคนทุกข์         ถนอมเลี้ยงฤรู้วาย
                               ปกป้องซึ่งอันตราย             จนได้รอดเป็นกายา
                                   เปรียบหนักชนกคุณ        ชนนีคือภูผา
                               ใหญ่พื้นพสุนธรา                ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
                                   เหลือที่จะแทนทด           จะสนองคุณานันต์
                                แท้บูชไนยอัน                   อุดมเลิศประเสริฐคุณ
    ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต    คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้   เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน
เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา  หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้  ด้วยการบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำ อ่านเพิ่มเติม

เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน

ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะออกอาสาไม่ย่อท้อ ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิตจะสู้จนกว่ากำลังวังชาจะสูญสิ้นไป
เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงได้ยินเจ้าเมืองผู้เป็นน้องทั้งสองตรัสมาดังนั้น ดีใจเป็นอย่างยิ่ง พระองค์รับสั่งกับอนุชาทั้งสองให้พาทัพทหารไปพักให้สำราญ แล้วให้อนุชาทั้งสองเข้ามาอยู่ในพระราชวัง และท้าวกะหมังกุหนิงก็ได้ลงองค์ลงมานั่งข้างๆกับเจ้าเมืองทั้งสอง พร้อมกับเล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังแล้วได้มอบสารให้เสนานำไปถวาย อ่านเพิ่มเติม