วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ถอดคำประพันธ์ อิเหนา

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
  ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน
ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะออกอาสาไม่ย่อท้อ ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิตจะสู้จนกว่ากำลังวังชาจะสูญสิ้นไป
เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงได้ยินเจ้าเมืองผู้เป็นน้องทั้งสองตรัสมาดังนั้น ดีใจเป็นอย่างยิ่ง พระองค์รับสั่งกับอนุชาทั้งสองให้พาทัพทหารไปพักให้สำราญ แล้วให้อนุชาทั้งสองเข้ามาอยู่ในพระราชวัง และท้าวกะหมังกุหนิงก็ได้ลงองค์ลงมานั่งข้างๆกับเจ้าเมืองทั้งสอง พร้อมกับเล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังแล้วได้มอบสารให้เสนานำไปถวาย
เมื่ออนุชาทั้งสองได้ฟังถึงเรื่องราวทั้งหมดจึงได้คัดค้านไปว่าเมืองที่จะไปตีนั้น มีความเก่งกาจและชำนาญเรื่องการรบ อีกทั้งทางทหารในเมืองนั้นก็เก่งในเรื่องการรบ เลื่องลือในแคว้นชวาและต่างเกรงกลัวในฤทธิ์เดชเมืองเขาเป็นเมืองใหญ่เมือง เราเป็นเมืองน้อยเปรียบเหมือนหิ่งห้อยจะเปล่งแสงแข่งกับด อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔ ประสูติในบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร

          การศึกษาของพระองค์ในขั้นต้น ได้ทรงศึกษาภาษาไทยตามแบบเก่ากับคุณแสงเสมียนและคุณปาน ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ  ในพระบรมมหาราชวัง  ภาษาบาลีในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย) ภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง นายฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์

          พระองค์ได้รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าโปรดให้ทรงจัดการกรมแผนที่เพื่อฝึกให้คนไทยทำแผนที่ พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างเรียบร้อย ภายหลังโปรดให้บังคับบัญชากรมกองแก้วจินดา พระองค์ก็ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรงได้รับพระราชทานสุพรรณบัตร สถาปนากรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อ่านเพิ่มเติม

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้แตกฉาน ทั้ง ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามคธ มีความรอบรู้ในฉันทลักษณ์ มีความสามารถด้านการประพันธ์บทร้อยกรองต่าง ๆ
ดังนั้น ท่านจึงมีงานสนองพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการประพันธ์ งานแต่งหนังสือเรียน รวมทั้งงานประจำในหน้าที่ของกรมพระอาลักษณ์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน ภาระหน้าที่ของท่านจึงมีมาก ที่รวบรวมได้ มีดังนี้
๑. งานในตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์อันเป็นหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือและหนังสือราชการ ทั้งปวง
๒. ดูแลงานกิจการโรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวังเป็นอีกภาระหนึ่งมาตั้งแต่ปี ๒๔๑๒
๓. งานในหน้าที่ครูสอนหนังสือไทยที่กรมทหารมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ และงานในตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง
๔. งานในหน้าที่เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการในโรงเรียนหลวง  อ่านเพิ่มเติม


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระราชประวัติ

 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อขึ้นครองราชย์ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์ อ่านเพิ่มเติม

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่บังคับเอกโท และคำสุภาพไว้สี่จุด (ดังแสดงในผัง) ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงปัจจุบัน
                      โคลงที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยรสคำและรสความ ดังที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงอธิบายไว้ว่า

                     โคลงดีดีด้วยรจ........นานัย ไฉนนอ
                 ต้องจิตติดหฤทัย...........เทิดถ้วน
                 ไพเราะรสคำไพ............เราะรส ความเฮย
                 สองรสพจนล้วน............ทิพย์ล้ำจำรูญ ฯ

     หลาย ๆ คนล้วนคุ้นเคยและเขียนโคลงสี่สุภาพได้แล้ว ว่าแล้วเรามาลองมาทบทวนกันดีกว่า

ร่ายสุภาพ

ร่ายสุภาพ
              ร่าย เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึงที่มีบังคับสัมผัสและการลงท้าย

              ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป แต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕ คำ แต่ไม่กำหนดว่าจะต้องมี   กี่บทหรือกี่บาท จะแต่งให้ยาวเท่าไรก็ได้จนกว่าจะจบเนื้อความ สัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป

ร่ายสุภาพ มีข้อกำหนดที่สำคัญ 2 ประการ คือ

๑. คำสุภาพ (คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์) ถ้าคำสัมผัสเป็นคำสุภาพก็ต้องส่งสัมผัสกับคำสุภาพด้วยกัน แต่ถ้าคำสัมผัสเป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์ก็ต้องส่งสัมผัสกับวรรณยุกต์เดียวกันเท่านั้น

๒. ร่ายสุภาพ จะต้องจบด้วย โคลงสองสุภาพ เสมอ


นิราศนรินทร์คำโคลง

    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย